บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ไม่ทรุด?? เลือกตอกเสาเข็ม ไอไมโครไพล์ I-Micropile ตอบโจทย์ทุกปัญหาการต่อเติม

ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ไม่ทรุด?? เลือกตอกเสาเข็ม ไอไมโครไพล์ I-Micropile ตอบโจทย์ทุกปัญหาการต่อเติม ส่วนต่อเติมมักจะเกิดการทรุดตัวเร็วกว่าบ้าน ดังนั้นควรตอกเสาเข็มเพื่อรองรับน้ำหนักของโครงสร้างในส่วนต่อเติม เพื่อไม่ให้เกิดการทรุดตัวที่อาจไปดึงรั้งตัวโครงสร้างบ้านหลักจนเกิดการทรุดเอียง ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายและแก้ไขได้ยาก และการตอกเสาเข็มที่ดีควรตอกเสาเข็มในส่วนที่ต่อเติมให้ได้ความลึกที่อยู่ในชั้นดินเดียวกันกับตัวโครงสร้างบ้านหลัก หรือตอกให้ลึกถึงชั้นดินทรายแข็ง หรือได้ค่า BLOW COUNT ตามที่วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ออกแบบฐานราก ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น เราขอแนะนำ เสาเข็มไอไมโครไพล์ ภูมิสยาม ตอบโจทย์ทุกปัญหาการต่อเติมบ้าน … Read More

สนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร มีข้อเสียยังไง แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ถูกสร้างมานานหลายปี ปัญหาที่เกิดจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมจะทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กลดลงและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเกิดรอยแตกร้าวหลุดร่อนออกไป ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง อาคารเก่าแก่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เมื่อเกิดปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอาคารและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร กลไกการเกิดสนิมเหล็ก การเกิดสนิมเหล็กเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาเคมีของเหล็ก เป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (electronchemical) ของเหล็กกับสารประกอบที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับเหล็กนั้นๆ กระบวนการเกิดสนิมเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดสนิมในเหล็กที่มีวัสดุอื่นมาปกคลุมผิว เช่น โครงเหล็กของอาคารที่ผิวทาสีกันสนิมหรือในเหล็กเสริมคอนกรีต จะมีกระบวนการเกิดสนิมที่ซับซ้อน ค่อยเป็นค่อยไป   การเกิดสนิมเหล็ก … Read More

การคำนวณหาว่าหน้าตัดของผนังรับแรงเฉือน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เมื่อวานนี้ผมได้อธิบายให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกับชิ้นส่วนสำคัญในผนังรับแรงเฉือน ซึ่งก็คือ BOUNDARY ELEMENT ไปแล้วนะครับ ก็คาดหมายว่าเพื่อนๆ จะรู้จักกับชิ้นส่วนๆ นี้เมื่อต้องดูแบบวิศวกรรมโครงสร้างนะครับ ในวันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงวิธีการอีกวิธีการหนึ่งในการคำนวณหาว่าหน้าตัดของผนังรับแรงเฉือนที่เราทำการออกแบบนั้นจะต้องการชิ้นส่วนที่เรียกว่า BOUNDARY ELEMENT หรือไม่กันอีกวิธีการหนึ่ง พร้อมกันนี้ผมยังได้อธิบายถึงวิธีในการคำนวณหาขนาดของหน้าตัดของทั้ง 2 วิธีการนี้ด้วยวิธีการพอสังเขปแก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ โพสต์นี้ออกจะยาวสักหน่อยแต่ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชนืต่อเพื่อนๆ … Read More

การออกแบบ โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ BEAM BEARING PLATE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการอธิบายถึงวิธีในการออกแบบ โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ BEAM BEARING PLATE ซึ่งผมได้ขออนุญาตใช้วิธีในการออกแบบตามมาตรฐาน AISC โดย วิธีการหน่วยแรงที่ยอมให้ หรือ ALLOWABLE … Read More

1 141 142 143 144 145 146 147 169