ความรู้เกี่ยวกับการเจาะทดสอบชั้นดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในวันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกัน โดยที่คำถามที่ผมได้เลือกมานั้นคือเรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการเจาะทดสอบชั้นดิน โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้คือ

ผมต้องการที่จะใช้เสาเข็มที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง หรือ D เท่ากับ 400 มม ในการรับ นน ของตัวอาคาร หากว่าผลการทดสอบดินระบุว่า ชั้นดินที่ระดับความลึก 19 ม นั้นเป็นดินทรายชั้นแรกที่เราพบในสถานที่ก่อสร้างของเรา และ ชั้นดินชั้นนี้จะค่า SPT-N VALUES ที่มากเพียงพอที่จะทำการวางปลายของเสาเข็มให้อยู่ในชั้นดินชั้นนี้ได้โดยที่ไม่เกิดปัญหาเรื่องการทรุดตัวในภายหลัง โดยที่ผมจะขออนุญาตให้ข้อมูลของชั้นดินชั้นอื่นๆ ที่ได้จากการเจาะสำรวจดินซึ่งจะเป็นไปตามข้อมูลดังต่อไปนี้

 

ชั้นดินที่ระดับความลึก 0-19 ม มีขนาดความหนา 19 ม มีค่า SPT-N VALUES เท่ากับ SPT1

 

ชั้นดินที่ระดับความลึก 19-21 ม มีขนาดความหนา 2 ม มีค่า SPT-N VALUES เท่ากับ SPT2

 

ชั้นดินที่ระดับความลึก 21-23 ม มีขนาดความหนา 2 ม มีค่า SPT-N VALUES เท่ากับ SPT3

 

ชั้นดินที่ระดับความลึก 23-27 ม มีขนาดความหนา 4 ม มีค่า SPT-N VALUES เท่ากับ SPT4

 

โดยหากพิจารณาเฉพาะค่า SPT เราก็จะพบว่า

 

ค่า SPT1 นั้นจะมีค่าน้อยกว่าค่า SPT2 ดังนั้น SPT1 < SPT2

 

ค่า SPT2 นั้นจะมีค่ามากกว่าค่า SPT3 ดังนั้น SPT3 < SPT2

 

ค่า SPT1 นั้นจะมีค่าน้อยกว่าค่า SPT3 ดังนั้น SPT1 < SPT3

 

ค่า SPT3 ก็จะมีค่าที่น้อยกว่าค่า SPT4 ดังนั้น SPT3 < SPT4

 

ค่า SPT4 ก็จะมีค่าที่มากกว่าค่า SPT2 ดังนั้น SPT2 < SPT4

 

เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เราอาจจะสามารถทำการสรุปความสัมพันธ์ของค่า SPT ออกมาได้ว่า

 

SPT1 < SPT3 < SPT2 < SPT4

 

หากว่าเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากในโครงการแห่งนี้ เพื่อนจะทำการกำหนดให้ทำการวางปลายเสาเข็มให้อยู่ในชั้นดินใดระหว่าง A B C หรือ D ? และ จะทำการกำหนดให้ปลายของเสาเข็มนั้นวางอยู่ที่ระดับความลึกใด ?

 

ทั้งนี้ผมต้องเรียนตามตรงว่าที่ผมทำการตั้งคำถามเช่นนี้ก็เพื่อที่จะทำการทดสอบเพื่อนๆ ว่ามีความรู้พื้นฐานในเรื่องของการทดสอบดินมากหรือน้อยเพียงใด ก่อนที่ในสัปดาห์หน้าผมจะเริ่มเข้าโพสต์พาเพื่อนๆ เข้าสู่เนื้อหาหลักๆ เกี่ยวกับเรื่องการเจาะสำรวจดิน คิดเสียว่าสาเหตุที่ผมได้ถามไปก็เพื่อเป็นการให้เพื่อนๆ ได้ชิมลางและกระตุ้นทำให้เพื่อนๆ อยากที่จะเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวเท่านั้นเอง และ ภายในอาทิตย์หน้าพอผมโพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะพบว่าเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความใกล้ตัวของพวกเรามากพอสมควรเลยละครับ

 

เอาละครับ เราจะลองมาไขหาคำตอบของปัญหาข้อนี้ไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า โดยที่ผมจะเริ่มต้นจากการตรวจสอบข้อมูลที่มีความสำคัญที่สุดที่ปัญหาข้อนี้ได้แจ้งเอาไว้ก่อน นั่นก็คือ ที่ชั้นดินที่ระดับความลึก 19 ม นั้นมีสภาพเป็นอย่างไร ?

 

จากข้อมูลการทดสอบดินได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ที่ชั้นดินที่ระดับความลึก 19 ม นั้นจะมีค่า SPT-N VALUES ที่มากเพียงพอที่จะทำการวางปลายของเสาเข็มให้อยู่ในชั้นดินชั้นนี้ได้โดยที่ไม่เกิดปัญหาเรื่องการทรุดตัวในภายหลัง ดังนั้นหากเป็นไปได้ เราก็ควรที่จะวางปลายเสาเข็มที่ชั้นดินนี้ แต่ ประเด็นปัญหาก็คือ ที่ชั้นดินที่ระดับความลึก 21 ม กลับกลายเป็นชั้นดินที่มีความอ่อนแอกว่าที่ชั้นดินที่ระดับความลึก 19 ม นะครับ

 

ดังนั้นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคำถามข้อนี้ที่ผมต้องการที่จะให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้ก็คือ เทคนิคง่ายๆ ที่เพื่อนๆ จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการที่จะตรวจสอบว่า เราจะสามารถที่จะวางปลายเสาเข็มในชั้นดินที่ระดับความลึกใดๆ ซึ่งที่ชั้นดินชั้นนี้อาจจะเป็นชั้นดินที่ไมได้มีความหนามากนัก ได้หรือไม่นะครับ

 

เริ่มจากการตรวจสอบก่อนค่า SPT-N VLUES ก่อนว่าเพียงพอหรือไม่ ?

 

จากปัญหาข้อนี้ก็ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนแล้วนะครับว่า ที่ชั้นดินที่ระดับความลึก 19 ม นี้ค่าๆ นี้อยู่มากเพียงพอที่จะวางปลายเสาเข็มให้อยู่ในชั้นดินนี้ได้

 

ต่อมาก็คือ ตรวจสอบว่า ระยะการฝังของปลายเสาเข็ม ในชั้นดินชั้นนั้นๆ ว่าจะมีค่ามากกว่าระยะ 3D ได้หรือไม่ ?

 

ปัญหาระบุว่าต้องการใช้เสเข็มที่มีระยะ D เท่ากับ 400 มม ดังนั้นระยะ 3D จึงมีค่าเท่ากับ

 

Lem’ = 3×400 = 1200 มม

 

ดังนั้นผมจะเลือกทำการกำหนดให้ระยะการฝังของปลายเสาเข็มเท่ากับ 1500 มม หรือ

 

Lem = 1500 มม

 

ซึ่งเมื่อค่าๆ นี้มีค่ามากกว่า 1200 มม ก็จะถือว่าใช้ได้ จากนั้นก็ทำการตรวจสอบดูว่า ที่ชั้นดินนี้มีความลึกของชั้นดินเท่ากับ 2 ม หรือ 2000 มม ซึ่งจะมีค่ามากกว่า 1500 มม เราจึงถือว่าสามารถที่จะใช้ได้นะครับ

 

ดังนั้นจากการเจาะทดสอบดินในโครงการนี้จะทำให้เราทราบได้ว่า ระดับความลึกของเสาเข็มที่ควรใช้ในโครงการก่อสร้างนี้จะมีค่าเท่ากับ

 

Lp = 19×1000 + 1500 = 20.50 ม

 

ซึ่งจากผลการพิจารณาดังกล่าวจะพบว่า หากชั้นดินชั้นดินชั้นใดๆ ของเรามีค่า SPT-N VALUES ที่มากเพียงพอ แต่ ชั้นดินชั้นถัดไปของเรานั้นเป็นชั้นดินบางๆ ที่มีความอ่อนตัวมากกว่าดินชั้นบน แต่ หากว่าจากการคำนวณนั้นเราพบว่า เราสามารถที่จะทำการวางปลายของเสาเข็มให้ฝังอยู่ในดินชั้นดังกล่าวได้โดยมีระยะการฝังที่มากกว่า 3 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มได้ เราก็สามารถที่จะเลือกทำการวางปลายของเสาเข็มในชั้นดินชั้นนี้ได้เช่นกันครับ

 

สรุป หากว่าข้อมูลของงานก่อสร้างในโครงการแห่งนี้เป็นไปตามที่ผมได้แจ้งเอาไว้ทุกๆ อย่างผมก็จะทำการกำหนดให้ขนาดของเสาเข็มซึ่งมีค่า D เท่ากับ 400 มม ให้มีขนาดความยาวของเสาเข็มเท่ากับ 20.50 ม นั่นเองนะครับ

 

ปล แอดมินจะขออนุญาตส่งข้อความกลับไปยังทุกๆ ท่านที่ได้ร่วมสนุกตอบคำถามตลอดเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมที่จะส่งของขวัญเล็กๆ น้อยกลับไปให้ และ แอดมินคาดหวังว่าทุกๆ ท่านจะได้รับความรุ้และร่วมสนุกตอบคำถามกันกับแอดมินอีกในโอกาสต่อๆ ไปอีกนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์

#การออกแบบวางตำแหน่งปลายของเสาเข็มจากข้อมูลการเจาะสำรวจดิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com