ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

 

หัวข้อในวันนี้คือ พวกเราจะมีวิธีการอย่างไร หากมีความจำเป็นที่จะต้องทำการตอกเสาเข็มในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโดยที่บริเวณนั้นๆ มีอาคารเดิมตั้งอยู่ก่อนหน้าแล้วนั่นเองนะครับ

หากพูดถึงปัญหาๆ นี้เนื้อเรื่องจะค่อนข้างยืดยาวมากๆ ผมจึงจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตทำการแบ่งการโพสต์ออกเป็นสัก 2 ครั้งก็แล้วกันนะครับ

โดยในวันนี้ผมจะขอเริ่มต้นทำการอธิบายถึงในส่วนแรกก่อน นั่นก็คือ ขั้นตอนในการออกแบบและเตรียมการ สำหรับการทำงานการตอกเสาเข็มนะครับ

 

สำหรับโครงการก่อสร้างที่จำเป็นที่จะต้องทำการใช้เสาเข็มตอกในสถานที่ก่อสร้างโดยที่บริเวณนั้นๆ มีอาคารเดิมตั้งอยู่ก่อนหน้าแล้ว การทำการสำรวจดินดูจะเป็นเรื่องจำเป็นมากๆ โดยที่ไม่ควรหลีกเลี่ยงเลยไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้นเลยนะครับ

นั่นเป็นเพราะข้อมูลจากการทดสอบดินจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆ ต่อทั้งวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานให้สามารถที่จะทำการตัดสินใจในเรื่องของการออกแบบวิศวกรรมฐานรากต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และ คุ้มค่าสูงที่สุดนะครับ

โดยเพื่อนๆ สามารถดูจากในรูปๆ นี้จะเห็นได้ว่า ขนาดบริษัทภูมิสยามซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์เมื่อจะทำการออกแบบอาคารในโรงงานของเค้า คุณโอ CEO หนุ่มรูปหล่อยังอนุมัติคำสั่งให้มีการทำการเจาะสำรวจดินในสถานที่ก่อสร้างตามคำแนะนำของผมในฐานะของผู้ออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเลย ดังนั้นนี่จึงนับได้ว่าคุณโอเป็นผู้บริหารที่มีสติปัญญา ความคิด และ วิสัยทัศน์ ที่รอบด้านมากๆ คนหนึ่งเลยละครับ

 

ประการต่อมา คือ เราควรทำการสำรวจดูอาคารที่ตั้งอยู่รอบๆ สถานที่ก่อสร้างของเราให้ดีเสียก่อนนะครับว่ามีการก่อสร้างระบบฐานรากด้วยระบบใดกันแน่

สาเหตุที่ผมแนะนำเช่นนี้เป็นเพราะว่า หลายๆ ครั้งพวกเรามักจะมีความเข้าใจว่า ในการก่อสร้างอาคารใหม่ของเรา ขอแค่เราสนใจว่าอาคารของเรานั้นจะมีระบบโครงสร้างฐานรากที่มั่นคงแข็งแรงเพียงอย่างเดียวแค่นั้นก็เป็นการเพียงพอแล้ว แต่ นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดมหันต์เลย เพราะ จริงๆ แล้วอาคารที่ตั้งอยู่ข้างเคียงที่มีการตั้งอยู่ก่อนหน้านั้นก็ถือเป็นเรื่องๆ หนึ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ หลายๆ ครั้งเลยที่เราทำการออกแบบและเลือกใช้ระบบของเสาเข็มที่ถือได้ว่ามีความปลอดภัยและคุ้มค่าสูงสุดแล้ว แต่ บังเอิญว่าลืมนึกถึงประเด็นนี้ไปจึงทำให้เลือกใช้งานระบบของการก่อสร้างเสาเข็มที่มีความเหมาะสมที่สุดไป ผลปรากฏว่าอาคารข้างเคียงบางหลังนั้นถูกก่อสร้างด้วยคุณภาพของงานก่อสร้างที่ค่อยข้างต่ำถึงต่ำมากๆ เช่น ใช้ฐานรากแบบแผ่ หรือ BEARING FOOTING หรือ ฐานรากแบบเสาเข็มสั้น หรือ SHORT PILE FOOTING เพราะ มองเห็นว่า นน บรรทุกของอาคารนั้นไม่ได้มากมายอะไร และ ที่สำคัญคือต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของเสาเข็มให้มากที่สุดเอาไว้ก่อนโดยที่ลืมนึกไปถึงประเด็นอื่นๆ ที่มีความสำคัญมากๆ ด้วย เช่น เรื่องดัชนีของค่าเสถียรภาพของฐานรากแบบตื้นนั้นจะมีค่าที่ต่ำกว่าฐานรากแบบลึกค่อนข้างมาก หรือ เรื่องของการทรุดตัวของฐานรากแบบตื้นที่จะมีค่าที่สูงกว่าฐานรากแบบลึกค่อนข้างมากเช่นกัน เป็นต้น

 

ดังนั้นอาคารเหล่านี้แทนที่จะใช้การก่อสร้างฐานรากแบบเสาเข็มยาว หรือ LONG PILE FOOTING ก็มักที่จะเลือกใช้ระบบเสาเข็มแบบสั้นแทน ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลต่ออาคารที่จะมีการทำการก่อสร้างในภายหลังอื่นๆ น่ะครับ

จริงๆวิธีการทั้งสองประการที่ผมนำมาฝากเอาไว้ในโพสต์ๆ นี้ถือได้ว่าเป็นมาตรการขั้นต่ำเท่านั้นเอง ซึ่งหากเพื่อนๆ ให้หน้าที่ของการออกแบบนั้นเป็นของวิศวกรผู้มีประสบการณ์ในการออกแบบจริงๆ เค้าอาจจะมีการใส่ใจและมีวิธีในการปฏิบัติงานรวมถึงรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมายในการทำงาน ดังนั้นเพื่อนๆ ก็ควรที่จะต้องทำความเข้าใจในจุดๆ นี้ว่าประเด็นๆ นี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยนะครับ

เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้า ผมจะขออนุญาตมาอธิบายต่อถึงเรื่องที่สองนั่นก็คือ ขั้นตอนใน การเลือกระบบของเสาเข็ม และ การเลือกวิธีในการนำเสาเข็มลงไปในดิน ที่จะถือได้ว่ามีความเหมาะสมที่สุดในการก่อสร้างมาฝากเพื่อนๆ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความในเรื่องๆ นี้ของผมได้ในโอกาสหน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com