ตำหนิของงานเชื่อมเหล็กรูปพรรณ หรือ WELDING DEFECT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่ในวันนี้ผมจะขออนุญาตพาเพื่อนๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกันกับ ตำหนิของงานเชื่อมเหล็กรูปพรรณ หรือ WELDING DEFECT นั่นเองนะครับ

สาเหตุว่าเพราะเหตุใดเราถึงต้องให้ความสนใจ ตำหนิของงานเชื่อมเหล็กรูปพรรณ นั้นก็เป็นเพราะว่า ตามปกติแล้วหากว่าร่องรอยของการเชื่อมเหล็กรูปพรรณของเรานั้นออกมามีความสมบูรณ์และมีความปกติเรียบร้อยดี จุดต่อนั้นๆ ก็มักที่จะมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่ หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถรับกำลังได้ตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบเอาไว้ตั้งแต่ต้น

อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องถือได้ว่ามีความสลักสำคัญมากๆ อย่างหนึ่งก็คือเรื่อง ความรู้สึกของผู้คนที่อาจมีการเดินผ่านไปผ่านมา และอาจจะต้องพบเห็นรอยเชื่อมเหล่านี้ เพราะต้องไม่ลืมว่าส่วนใหญ่นั้น งานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณมักจะเป็นงานโครงสร้างเปลือยที่สถาปนิกมักจะเลือกโชว์พื้นผิวของเหล็กรูปพรรณ ดังนั้นหากว่ารอยเชื่อมนั้นมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดี ผู้คนก็มักที่จะไม่เกิดความวิตกกังวลในการใช้งานโครงสร้างเท่าใดนัก ในทางตรงกันข้ามหากรอยเชื่อมออกมาไม่สวยงามขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยไป ผู้คนก็มักที่จะเกิดความกังวลและอาจจะทำการตั้งคำถามถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานโครงสร้างนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการควบคุมให้ในขั้นตอนของการเชื่อมนั้นออกมามีความสวยงามในระดับหนึ่ง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้มากที่สุดเท่าที่การเชื่อมจะอำนวย

ตำหนิของงานเชื่อมเหล็กรูปพรรณ คือ ร่องรอยที่แสดงถึงความบกพร่องของวัสดุที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเชื่อมซึ่งอยู่ด้วยกันหลากหลายเลยนะครับ โดยที่ประเภทของร่องรอยความไม่สมบูรณ์ของงานเชื่อมเหล็กรูปพรรณนั้นได้มีการรวบรวมและทำการระบุเอาไว้ในมาตรฐาน ISO 6520 และ ยังมีการระบุถึงเกณฑ์การยอมรับได้ของความไม่สมบูรณ์เหล่านี้เอาไว้ในมาตรฐาน ISO 5817 และ ISO 10042 ด้วยนะครับ

โดยหากจะพูดถึงสาเหตุหลักของร่องรอยของความบกพร่องในงานเชื่อมเหล็กรูแปพรรณนั้นทางสมาคมวิศวกรรมเครื่องกลแห่งสหรัฐอเมริกาได้ทำการแยกย่อยลักษณะของร่องรอยความบกพร่องในงานเชื่อมเหล็กรูปพรรณออกตามสาเหตุของการเกิดออกได้เป็นตามสัดส่วนทั้งหมด 100 จะสามารถที่จะทำการแบ่งออกเป็น

  1. จำนวนร้อยละ 45 นั้นจะมาจากการที่เราทำการปรับตั้งค่าของกระบวนการเชื่อมที่ไม่ดีหรือขาดความเหมาะสม
  2. จำนวนร้อยละ 32 นั้นจะมาจากความผิดพลาดหรือความบกพร่องของผู้ปฏิบัติงานเชื่อมเอง
  3. จำนวนร้อยละ 12 นั้นจะมาจากการที่เราทำการใช้เทคนิควิธีการเชื่อมที่ไม่ถูกต้อง หรือ ดีเพียงพอ
  4. จำนวนร้อยละ 10 นั้นจะมาจากการที่เราเลือกใช้วัสดุตัวลวดเชื่อมที่ขาดความเหมาะสมไป
  5. จำนวนร้อยละ 5 นั้นจะมาจากการที่เรานั้นทำการเตรียมรอยต่อที่จะทำการเชื่อมก่อนที่จะเริ่มต้นการเชื่อมนั้นไม่ดีเพียงพอ

ซึ่งสาเหตุหลักๆ ของร่องรอยความบกพร่องตามที่ผมได้เล่าให้ฟังข้างต้นอาจแบ่งออกได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ นั่นก็คือ ไฮโดรเจน เอ็มบริทเทิลเมน และ ค่าความเค้นตกค้าง หรือ RESIDUAL STRESSES ซึ่งขนาดของ ค่าความเค้นตกค้าง ที่เกิดจากการเชื่อมนี้เราจะสามารถทำการคำนวณได้อย่างคร่าวๆ จากความสัมพันธ์ของตัวแปรค่า Es คือ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น ค่า α คือ ค่าสัมประสิทธ์การขยายตัวทางความร้อน ค่า ΔT คือ ผลต่างของอุณหภูมิในการเชื่อมเหล็กรูปพรรณ โดยที่ค่าความเค้นที่คำนวณได้นั้นมักที่จะสามารถคำนวณออกมาได้ประมาณ 3.5 GPa หรือ 510 ksi นะครับ

ยังไงในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมากล่าวถึง ลักษณะ และ สาเหตุ ของการเกิดร่องรอยการแตกร้าวประเภทต่างๆ ให้เพื่อนๆ รับทราบต่อไป หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com