การใช้โปรแกรม STAAD.PRO กรณีที่โครงสร้างเสาที่มีขนาดเล็กและใหญ่มาบรรจบกันแบบไม่ตรงศูนย์กลางซึ่งกันและกัน

สวัสดัครับแฟนเพจที่รักทุกท่าน

สืบเนื่องจากมีพี่ท่านหนึ่งได้หลังไมค์มาสอบถามผมเกี่ยวกับกรณีที่โปรแกรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MIDAS GEN หรือ MICRO FEAP เองก็ดีนั้นสามารถที่จะทำการจำลองโครงสร้างจำพวก RIGID LINK สำหรับในกรณีที่โครงสร้างเสาที่มีขนาดเล็กและใหญ่มาบรรจบกันแบบไม่ตรงศูนย์กลางซึ่งกันและกัน แล้วโปรแกรม STAAD.PRO ทำได้หรือ ?

(รูปที่ 1)

คำตอบ คือ ได้ครับ มาดู ตย ประกอบกันนะครับ ในรูปที่ (1) ผมทำการจำลองเสาขึ้นมาก่อนนะครับ กำหนดให้มีขนาด 300×300 มม มีคานรั้งไว้ทั้งสองทิศทางขนาดเท่ากับ 300×500 มม (คานขวางมีไว้เพื่อหลอกให้โปรแกรมมองว่าทั้งสองโครงสร้างนั้นเชื่อมต่อกันครับ) โดยที่คานตามแนวยาวจะรั้งเข้าไปที่กำแพงรับแรงเฉือนขนาด 200×2000 มม ซึ่งจะเห็นได้ว่าในตอนแรกนี้ยังไม่ได้มีการเยื้องศูนย์ใดๆ เกิดขึ้นเลยนะครับ

(รูปที่ 2)

(รูปที่ 3)

ในรูปที่ (2) ผมจะทำการขยับให้ศูนย์กลางของกำแพงรับแรงเฉือนทางด้านขวามือนั้นเยื้องศูนย์จากเสาต้นริมขวามือโดยการเลือกไปที่ TAB หลักคือ GENERAL/SPEC เลือก MENU ย่อยคือ BEAM/OFFSET เลือกที่ START และทำการกำหนดให้การเยื้องศูนย์นั้นเป็นไปตามแกน X บนพิกัดบน LOCAL COORDINATE เท่ากับ 0.85 ม จากรูปที่ (3) จะเห็นได้ว่าที่ปลายด้านล่างของ ELEMENT จะเริ่มขยับตัวOไปในทิศทางที่เราเพิ่งออกคำสั่งให้มัน OFFSET ไปนะครับ

(รูปที่ 4)

(รูปที่ 5)

(รูปที่ 6)

ในรูปที่ (4) ผมจะทำการเลือกที่ END บ้างนะครับ ผมจึงทำการเลือกที่ END และกำหนดให้การเยื้องศูนย์นั้นเป็นไปตามแกน X บนพิกัดบน LOCAL COORDINATE เท่ากับ 0.85 ม บ้างนะครับ โดยจะเห็นได้ว่าที่ปลายด้านบนของ ELEMENT จะขยับตัวตามในทิศทางที่เราออกคำสั่งให้มัน OFFSET ไปดังรูปที่ (5) หรือจะดูในภาพ RENDERED VIEW ในรูปที่ (6) ก็ได้นะครับ จะพบว่าปัจจุบันขอบของคานด้านขวามือจะขยับตำแหน่งมาที่ขอบของกำแพงรับแรงเฉือนแล้วนะครับ

(รูปที่ 7)

(รูปที่ 8)

ผมสมมติว่ามี นน บรรทุกแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอกระทำด้านบนคานและออกคำสั่งให้โปรแกรมทำการวิเคราะห์โครงสร้างและหากเราดูผลจากในรูปที่ (7) จะพบว่าค่าแรงดัดในกำแพงรับแรงเฉือนทางด้านซ้ายมือนั้นมีค่าน้อยมากเพราะว่าคานที่มาฝากนั้นไม่มีระยะเยื้องศูนย์ใดๆ เลยนะครับ ตรงกันข้ามกับในรูปที่ (8) จะพบว่าค่าแรงดัดในกำแพงรับแรงเฉือนทางด้านขวามือนั้นมีค่ามากกว่ากำแพงรับแรงเฉือนทางด้านซ้ายมือเยอะมากชนิดที่ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้เลยก็เป็นเพราะว่าที่กำแพงรับแรงเฉือนทางด้านขวามือนั้นมีระยะเยื้องศูนย์กระทำอยู่นั่นเองครับ ดังนั้นขอให้ทำความเข้าใจในคำสั่ง OFFSET ให้ดีเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์เมื่อเราต้องการจะทำการจำลองโครงสร้างกันให้ดีๆ นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN