หลักเกณฑ์ในการทำการพิจารณาเพื่อทำการคำนวณ แก้ไขงานโครงสร้างของฐานราก เมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบถึงกรณีที่เรามีการก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากและเกิดปัญหาเรื่องเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์นะครับ โดยในวันนี้ผมจะขอทำการพูดถึงหลักเกณฑ์ในการทำการพิจารณาเพื่อทำการคำนวณเพื่อแก้ไขงานโครงสร้างของฐานรากเมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปนะครับ ในสถานการณ์ปกติหากว่ามีการทำการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากและจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาเข็ม ไม่ว่าจะเป็น เสาเข็มตอก หรือ เสาเข็มเจาะ และ หากเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจากตำแหน่งเดิมที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ เราจำเป็นที่จะต้องมีการคำนวณเพื่อทำการตรวจสอบรายการคำนวณซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ นะครับ (1) ตัวโครงสร้างของเสาเข็ม ในบางครั้งเมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ไป อาจจะทำให้แรงปฏิกิริยาในเสาเข็มนั้นเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการการคำนวณและตรวจสอบแรงปฏิกิริยาในตัวโครงสร้างของเสาเข็มที่สภาวะการใช้งานว่าค่าๆ … Read More

วิธีในการวิเคราะห์โครงสร้าง (STRUCTURAL ANALYSIS) โดยวิธีประมาณการ (APPROXIMATE METHOD)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ ให้ได้ทราบกันถึงวิธีในการวิเคราะห์โครงสร้าง (STRUCTURAL ANALYSIS) โดยวิธีประมาณการ (APPROXIMATE METHOD) นะครับ โดยในวันนี้โครงสร้างที่ผมจะมากล่าวถึงนั้นก็คือโครงสร้างโครงข้อแข็ง (PORTAL FRAME) กันนะครับ โดยปกติแล้วโครงสร้าง PORTAL FRAME นั้นมักที่จะถูกใช้เป็นองค์อาคารหลักของโครงสร้างเพื่อทำการถ่ายแรงกระทำ ทางด้านข้างของโครงสร้างซึ่งมักจะเกิดจากแรงลมหรือแรงแผ่นดินไหวให้ถ่ายลงไปสู่ตัวฐานรากของโครงสร้าง ซึ่งเราสามารถที่จะทำการจำแนกการวิเคราะห์โครงสร้าง … Read More

การเสริมเหล็กปลอกในเสาแบบเดี่ยวและเหล็กปลอกแบบเกลียวนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เวลาที่เพื่อนๆ สังเกตดูรายละเอียดการเสริมเหล็กปลอกในเสาแล้วเคยเกิดข้อสงสัยหรือไม่ครับว่าการเสริมเหล็กปลอกในเสาด้วยเหล็กปลอกแบบเดี่ยวและเหล็กปลอกแบบเกลียวนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ถึงประเด็นๆ นี้นะครับว่าการเสริมเหล็กปลอกในเสา คสล ด้วยการเสริมเหล็กแบบเดี่ยวและเหล็กปลอกแบบเกลียวนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรนะครับ ประโยชน์ของการใช้เหล็กปลอกทั้งที่เป็น แบบปลอกเดี่ยว ที่อยู่แยกกัน หรือ แบบปลอกเกลียว คือ เพื่อที่จะยึดเหล็กยืนในเสาให้อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ และ เพื่อป้องกันมิให้เหล็กยืนในเสานั้นเกิดการโก่งเดาะนะครับ ในรูปที่ผมแนบมาด้วยจะแสดงให้เห็นถึงกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าอัตราการหดสั้นตามแนวแกน … Read More

หลักการของการบดอัดดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ช่วงนี้ผมมีงานที่เกี่ยวข้องกับการถมดินอยู่หลายตัวเลยนะครับ และ ผมได้สังเกตและพบเห็นว่าเพื่อนร่วมงานหลายๆ คนอาจจะเคยมีข้อสงสัยว่า หากเราทำการถมดินแล้วทำการบดอัดดิน เราจะต้องทำการบดอัดดิน มาก หรือ นาน เท่าใด กว่าที่ดินของเราจะสามารถรับกำลังได้ กว่าที่ดินของเราจะมีค่าการทรุดตัวที่ถือว่าเหมาะสมต่อการรับ นน ของเรา คำตอบของคำถามข้อนี้ คือ เราก็ควรที่จะต้องทำการทดสอบดินที่เราทำการบดอัดเสียก่อนนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถทราบได้ว่าคุณสมบัติของดินนั้นเป็นอย่างไร … Read More

ความหนาที่เหมาะสมของฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้ที่สำคัญประการหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบฐานรากในอาคารของเราแก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนนั่นก็คือความหนาที่เหมาะสมของฐานรากนะครับ เชื่อเหลือเกินว่าเพื่อนๆ หลายคนคงจะมีคำถามในใจว่า เหตุใดผมจึงกล่าวว่าการออกแบบขนาดความหนาของฐานรากนั้นถึงต้องมีความเหมาะสมครับ ? หากจะมองย้อนไปที่หลักการของการคำนวณฐานรากของเราก่อนนะครับ คือ เราจะตั้งสมมติฐานให้ตัวโครงสร้างของฐานรากนั้นมีสภาพความเป็น RIGID BODY หรือ พูดง่ายๆ คือ มีความแข็งแกร่งที่มาก ซึ่งด้วยเหตุผลนี้เองเมื่อเราทำการรวม นน … Read More

ค่า GLOBAL OVERSTRENGTH FACTOR

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ในเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหวต่อนะครับ โดยวันนี้ผมอยากที่จะมาเล่าต่อให้จบในประเด็นในเรื่องของค่า GLOBAL OVERSTRENGTH FACTOR ที่ผมได้ติดค้างเพื่อนๆ เอาไว้ให้จบหลังจากที่เมื่อวานผมได้เล่าให้เพื่อนๆ ได้รู้จักถึงค่า LOCAL OVERSTRENGTH FACTOR กันไปแล้วนะครับ สำหรับค่าตัวประกอบกำลังส่วนเกินโดยรวม (GLOBAL OVERSTRENGTH) นั้นจะเกิดจากพฤติกรรมของระบบโครงสร้างโดยรวมภายใต้แรงกระทำทางด้านข้าง หลังจากที่ระบบของโครงสร้างโดยรวมนั้นเกิดการครากไปแล้ว … Read More

ตัวอย่าง รายการคำนวณในหัวข้อ STRENGTH AND SERVICEABILITY DESIGN OF TYPICAL RC BEAM

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมนำ ตย รายการคำนวณในหัวข้อ STRENGTH AND SERVICEABILITY DESIGN OF TYPICAL RC BEAM เพราะ เมื่อหลายวันก่อนมีเพื่อนวิศวกรรุ่นพี่ที่นิสัยดีมากๆ ท่านนึงได้สอบถามมาหลังไมค์เกี่ยวกับเรื่อง LC สำหรับการคำนวณและออกแบบในเรื่อง STRENGTH และ … Read More

วิธีในการถ่ายน้ำหนัก ของแผ่นพื้นลงบนคานรองรับทั้ง 4 ด้าน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่ถามผมมาเกี่ยวกับเรื่องกรณีที่เรามีแผ่นพื้นที่มีการถ่าย นน แบบ 2 ทิศทาง โดยประเด็นนั้นอยู่ที่วิธีในการถ่าย นน ของแผ่นพื้นลงบนคานรองรับทั้ง 4 ด้าน นะครับ ก่อนอื่นผมขอเล่าให้ฟังถึงรายละเอียดที่มาที่ไปของประเด็นที่น้องท่านนี้ถามผมมาก่อนนะครับ ประเด็นมีอยู่ว่าน้องวิศวกรท่านนี้ได้ทำการถ่าย นน จากพื้นลงมายังคานที่ทำหน้าที่ีรองรับทั้ง 4 ด้าน แต่ … Read More

ฐานรากกลุ่ม หรือว่า COMBINED FOOTING

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของเพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งที่ถามผมมาเกี่ยวเนื่องกับโพสต์ครั้งที่แล้วของผมเกี่ยวกับเรื่องฐานรากแผ่แบบมีเสาตอม่อ 2 เสาลงมาที่ฐานรากแผ่หนึ่งฐานซึ่งมีชื่อที่เราเรียกกันว่า ฐานรากกลุ่ม หรือว่า COMBINED FOOTING ซึ่งคำถามมีอยู่ว่า หากว่าอาคารใช้เป็นฐานรากที่มีขนาดใหญ่ 1 ฐานที่ถูกเชื่อมเข้าด้วยกันทั้งหมดซึ่งจะต้องรับเสามากกว่า 1 แนวละ เราจะเรียกฐานรากแบบนี้ว่าเป็นฐานรากชนิดใด ? ในกรณีที่ฐานรากได้ถูกทำการเชื่อมเข้าด้วยกันทั้งหมด โดยอาจประกอบไปด้วยจำนวนเสามากกว่า 1 … Read More

ฐานรากแผ่(ต่อ)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน สำหรับในโพสต์ล่าสุดของผมเกี่ยวกับเรื่องฐานรากแผ่นั้น ในตอนแรกผมตั้งใจที่จะโพสต์ๆ นั้นเป็นโพสต์สุดท้ายสำหรับช่วงเวลานี้ แต่ พอโพสต์ไปแล้วก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดี และ ได้มีคำถามต่อเนื่องตามมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องๆ นี้ผมจึงอยากที่จะขอโพสต์ต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานรากแผ่ไปก่อนนะครับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบคำถามให้แก่เพื่อนวิศวกรที่ได้ถามผมมานั่นเองนะครับ คำถามที่เพื่อนวิศวกรได้สอบถามผมต่อเนื่องมาจากโพสต์ของเมื่อวาน คือ หากเราจะทำการก่อสร้างฐานรากแผ่วางบนดินในบริเวณที่ลาดเชิงเขาซึ่งหมายความว่าลักษณะของชั้นดินจะไม่ใช่เป็นแนวระดับในแนวราบเหมือนกรณีทั่วๆ ไปของการทำฐานรากแผ่นะครับ ในการก่อสร้างฐานรากแผ่วางตัวอยู่บนแนวพื้นที่มีความเอียงลาดนั้น ฐานรากตัวริมที่จะติดกับพื้นที่ลาดเอียงนั้น เราจะต้องตรวจสอบดูว่าระยะจากขอบนอกสุดส่วนบนของฐานราก (ระยะ V … Read More

1 19 20 21 22 23 24 25 32