แรงสั่นสะเทือนน้อย ราคา ตอกเสาเข็ม ภูมิสยามฯ สปันไมโครไพล์ SPUN MICROPILE ตอกเสาเข็มในพื้นที่จำกัด
แรงสั่นสะเทือนน้อย ราคา ตอกเสาเข็ม ภูมิสยามฯ สปันไมโครไพล์ SPUN MICROPILE ตอกเสาเข็มในพื้นที่จำกัด เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. 397-2524 โดย ภูมิสยาม Bhumisiam เสาเข็มเรามีความแข็งแกร่งสูง จากการสปันแท้ https://youtu.be/EXdkwU_q0_I และ มีรูกลมกลวงตรงกลาง … Read More
ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ สืบเนื่องจากเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาผมได้ทำการไลฟ์สดร่วมกันกับทีมงานของภูมิสยามฯ และในวันนั้นผมได้ทำการอธิบายให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันว่าความแตกต่างระหว่างเสาเข็มที่มีหน้าตัดเป็นรูปทรงตัวไอกับเสาเข็มรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งผมก็เชื่อเหลือเกินว่าคงจะเพื่อนๆ หลายๆ คนที่อยู่ในแฟนเพจของเรานั้นอาจจะมีความสงสัยไม่มากก็น้อยว่าแล้วในกรณีของเสาเข็มที่มีหน้าตัดเป็นรูปทรงกลมละจะมีความเหมือนหรือแตกต่างออกไปจากเสาเข็มที่มีหน้าตัดเป็นรูปทรงตัวไอกับเสาเข็มรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสมากหรือน้อยเพียงใด ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่องๆ นี้นั่นเองครับ เท้าความไปถึงเนื้อหาที่ผมได้ไลฟ์สดกันสักเล็กน้อยก่อนก็แล้วกันที่ผมได้ทำการอธิบายกับเพื่อนๆ ไปว่า … Read More
คานรับแรงดัด “แบบปกติ” และคานรับแรงดัด “แบบลึก”
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เหมือนเช่นเคยในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการตั้งคำถามประจำสัปดาห์ โดยที่คำถามประจำสัปดาห์ในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อในวันอังคารที่ผ่านมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ โดยที่รายละเอียดของปัญหาที่ผมได้เลือกหยิบยกเอามาถามเพื่อนๆ ในวันนี้นั้นค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ เลย ซึ่งจะมีรายละเอียดของคำถามดังต่อไปนี้ครับ จะเห็นได้ว่าคานทั้ง 3 ในรูปๆ นี้จะมีขนาดของคานและเสาที่ทำหน้าที่รองรับคาน รวมไปถึงระยะความยาวช่วงระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของจุดรองรับที่เท่าๆ กัน โดยจะแตกต่างกันเฉพาะลักษณะของน้ำหนักบรรทุกที่กระทำอยู่บนคาน ดังนั้นผมอยากที่จะสอบถามเพื่อนๆ ว่า คานหมายเลขใดที่ถูกจัดว่ามีพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบปกติ” … Read More
การคำนวณหาว่าหน้าตัดของผนังรับแรงเฉือน
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เมื่อวานนี้ผมได้อธิบายให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกับชิ้นส่วนสำคัญในผนังรับแรงเฉือน ซึ่งก็คือ BOUNDARY ELEMENT ไปแล้วนะครับ ก็คาดหมายว่าเพื่อนๆ จะรู้จักกับชิ้นส่วนๆ นี้เมื่อต้องดูแบบวิศวกรรมโครงสร้างนะครับ ในวันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงวิธีการอีกวิธีการหนึ่งในการคำนวณหาว่าหน้าตัดของผนังรับแรงเฉือนที่เราทำการออกแบบนั้นจะต้องการชิ้นส่วนที่เรียกว่า BOUNDARY ELEMENT หรือไม่กันอีกวิธีการหนึ่ง พร้อมกันนี้ผมยังได้อธิบายถึงวิธีในการคำนวณหาขนาดของหน้าตัดของทั้ง 2 วิธีการนี้ด้วยวิธีการพอสังเขปแก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ โพสต์นี้ออกจะยาวสักหน่อยแต่ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชนืต่อเพื่อนๆ … Read More