บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

ค่า SF Lและ FFL ในงานก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ   โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ จากรูปที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้จะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างแผ่นพื้น ค.ส.ล ที่จะมีระดับด้านบนสุดของแผ่นพื้นเท่ากับ SFL.+1,000 หากด้านบนแผ่นพื้นแผ่นนี้จะต้องมีการปูทับด้วยปูนกาวและกระเบื้อง … Read More

Blow Count เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการประเมิน การรับน้ำหนักของเสาเข็ม

Blow Count เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการประเมิน การรับน้ำหนักของเสาเข็ม การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม … Read More

ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ จริงๆ แล้วผมตั้งใจที่จะนำเอาคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อๆ นี้ไปตอบในวันศุกร์ซึ่งก็คือวันพรุ่งนี้ ซึ่งสุดท้ายสาเหตุที่ผมได้เลือกนำเอามาโพสต์ในวันนี้เป็นเพราะคำถามในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากเสาที่อาศัยเข็มในการรับน้ำหนักนั่นเองครับ เนื่องจากว่าในช่วงเวลานี้ผมกำลังทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างเดิมอยู่พอดิบพอดี ซึ่งหนึ่งในโครงสร้างเหล่านั้นก็จะประกอบไปด้วยโครงสร้างฐานรากด้วย ซึ่งคำถามนั้นมาจากทางลูกค้าที่ได้สอบถามผมเข้ามาว่า “เพราะเหตุใดเวลาที่เราจะทำการเสริมโครงสร้างฐานรากที่อาศัยโครงสร้างเสาเข็มในการรับน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 1 ต้น … Read More

ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน เรื่องเหล็กเสริมในโครงสร้างแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานครั้งที่หนึ่ง

ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน เรื่องเหล็กเสริมในโครงสร้างแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานครั้งที่หนึ่ง สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง วิธีในการคำนวณหาเหล็กเสริมในแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบกันนะครับ โดยมากแล้วเหล็กเสริมในแผ่นพื้นมักจะถูกกำหนดในแบบวิศวกรรมโครงสร้างให้เป็น เหล็กตะแกรง … Read More

1 142 143 144 145 146 147 148 169